On April 1st , 2024, Ms Charmaree Tangkasikit, a scholarship doctoral student of Dhammachai International Research Institute (DIRI) presented her work in the international conference “Theravada Buddhism and Social Engagement” which was held at Hyatt Centric Hotel, Uttarakhand, India.
The opening ceremony was graced by Ram Nath Kovind, the 14th president of India, and Gen. Gurmit Singh, the Governor of Uttarakhand. Furthermore, the international community of Theravada monks which led by Dr. Lag Mahanayaka Mahathera, and the president of World Theravada Buddhist Centre, Dr. MK Otani, along with scholars from eleven countries participated this seminar in unison.
As the event featured numerous presentations and discussions related to the intersection of social and academic aspects in Buddhism, Ms. Charmaree who is currently working on dissertation at , India, presented in the topic,”Mindfulness Practices and Social Engagement: Exploring the Connection in Thai Theravada Buddhism.” This research explored the connection between mindfulness practice and five daily virtues as cleanliness, collocation, politeness, punctuality, and meditation through clear examples of positive transformations.
ในวันที่ 1 เมษายน 2567 นางสาวจามรี ตั้งกสิกิจ นักศึกษาทุนปริญญาเอก จากสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ประเทศนิวซีแลนด์ ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนนักวิชาการที่เข้าร่วมงานการประชุมนานาชาติเรื่อง “พุทธศาสȨถรวาทกับการมีส่วȨ่วมทางสังคมĝ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรม Hyatt Centric เมืองอุตตราขัณฑ์ ณ ประเทศอินเดีย
พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ราม นาถ โกวินท์ ประธานาธิบดีคนที่ 14 ของอินเดีย และพลเอก กูร์มิต ซิงห์ ผู้ว่าการรัฐอุตตราขัณฑ์ อีกทั้ง คณะสงฆ์เถรวาทนานาชาติ นำโดย ดร.ลัก มหานายากะ มหาเถระ และประธานศูนย์พุทธศาสนาเถรวาทโลก ดร.เอ็มเค โอตานิ พร้อมด้วยนักวิชาการจาก 11 ประเทศ เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียงกัน
ในงานนี้มีการนำเสนอและเสวนามากมายที่เกี่ยวข้องกับการผสมผสานระหว่างแง่มุมทางสังคมและวิชาการในพุทธศาสนา นางสาวจามรีซึ่งกำลังทำวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยสุพารตี ประเทศอินเดีย ได้นำเสนอหัวข้อ “การฝึกสติและการมีส่วนร่วมทางสังคม: การสำรวจความเชื่อมโยง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาทของไทย” โดยงานวิจัยนี้ได้สะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันด้วยความดีสากล 5 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วยความสะอาด การจัดระเบียบ ความสุภาพ การตรงต่อเวลา และการทำสมาธิ โดยหยิบยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจากผู้ปฏิบัติในพุทธศาสนานิกายเถรวาทของไทย